วางแผนลงทุนอย่างไร เพื่อรับมือสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน

699 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วางแผนลงทุนอย่างไร เพื่อรับมือสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน

 
เมย์แบงก์ (MST) ประเมินผลกระทบจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่จะเกิดกับตลาดหุ้นไทยว่า มีความเป็นไปได้ 3 รูปแบบ  

1) ตลาดปรับฐานแรง (หลุด 1,600 จุด): มีเหตุการณ์ที่เป็น Negative Surprise เพิ่มเติม เช่น เกิดสงคราม (NATO ตอบโต้ด้วยปฏิบัติการทางทหาร, ยูเครนไม่ยอมปฏิบัติตามความต้องการของรัสเซีย)  คาดตลาดฯ เข้าสู่รอบการปรับฐานใหญ่ แต่คาดว่า โอกาสที่จะเกิดขึ้นต่ำที่สุด หากพิจารณาจากการส่งสัญญาณที่จาก NATO บวกกับสถานะของยูเครนยังไม่ใช่หนึ่งในสมาชิก NATO 

2) ตลาดลงต่อและใช้เวลาสร้างฐาน (1,620 จุด +/-) : ชาติตะวันตกยกระดับการตอบจากชาติตะวันตกที่รุนแรงขึ้นกว่าในปัจจุบัน (เช่น กรณีคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย เป็นต้น) น่าจะส่งผลให้ SET สร้างฐานบริเวณเหนือ 1,620 จุด และค่อยๆ ฟื้นตัว ซึ่ง MST ประเมินว่ามีความเป็นไปได้สูงที่สุด

3) ตลาดเริ่มเข้าสู่จุดฟื้นตัว : ยูเครนยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขของรัสเซีย (ไม่เข้าร่วม NATO และอาจยอมเสียดินแดนบางส่วน) ขณะที่มาตรการตอบโต้จากชาติตะวันตกไม่รุนแรงมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน และตลาดรับรู้แล้ว (เช่น การคว่ำบาตรทางการเงิน คว่ำบาตรรายบุคคล เป็นต้น) เช่นเดียวกับรัสเซียที่ยอมยุติปฏิบัติการทางทหารหลังบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการ โอกาสเกิดขึ้นปานกลาง

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนสูง เป็นโอกาสซื้อสะสมในหุ้น 3 กลุ่ม

1. Expectation: ปรับตัวลงแรง และมีโอกาสฟื้นตัวแรง 
- PSL (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 20.50 บาท) คาดอุปสงค์สินค้าแห้งเทกองยังแข็งแกร่งสอดคล้องกับรัฐบาลจีนที่ยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ขณะที่เรือสั่งต่อใหม่มีเพียง 6.88% ของกองเรือโลก ต่ำสุดในรอบ 20 ปี สอดคล้องกับการฟื้นตัวของดัชนีค่าระวางเรือที่ในรอบ 1 เดือนนี้ พุ่ง 58.25%  
- MINT (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 35 บาท) ราคาหุ้นอยู่ในจุดที่น่าสะสมลงทุน โดนผลกระทบเชิงลบจาก sentiment สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ในฐานะหนึ่งในหุ้นที่ดำเนินธุรกิจในยุโรป ขณะที่แนวโน้มปีนี้น่าจะเริ่มฟื้นตัวตามสถานการณ์โควิดที่ดีขึ้น 

2. Earnings: มีแรงหนุนจากแนวโน้มกำไรเด่น
- KKP (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 80 บาท) ตั้งเป้าปีนี้ สินเชื่อขยายตัว 12% และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อลดลงแตะ5.1% (เทียบกับ 5.3% ในปีก่อน) เนื่องจากธนาคารมีแผนขยายสินเชื่อคุณภาพดีในกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อองค์กร ต้นทุนสินเชื่อน่าจะลดลงเหลือน้อยกว่า 220 bps จาก 265 bps 
-  OSP (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 41 บาท) แนวโน้มกำไรปีนี้ ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของยอดขายเครื่องดื่มทั้งในและต่างประเทศ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่และโรงงานเครื่องดื่มในเมียนมาร์จะได้ผลบวกจากอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง ส่วนโรงงานแห่งใหม่ในเมียนมาร์ซึ่งผลิตขวดแก้วจะเริ่มผลิตได้ใน 1H65

3. Outperformer: แข็งกว่าตลาด
-  ASK (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 55 บาท) แนวโน้มพอร์ตสินเชื่อขยายตัว พร้อมกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น อัตราส่วน NPL Ratio ลดลง และได้แรงหนุนจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมจากการขายประกัน
- JMT (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 80 บาท) แนวโน้มกำไรปี 2565 ยังคงดีต่อเนื่อง ได้แรงหนุนจากจากการขยายพอร์ตหนี้ คาดขยายตัวระดับ +50% YoY หนุนยอดเก็บเงินสดและกำไรสุทธิขยายตัว

ส่วนกสิกรไทย (KS) หยิบเอาเหตุการณ์ที่ทำให้ตลาดตกใจในอดีต 4 เหตุการณ์ คือ สงครามอ่าว สงครามอัฟกานิสถาน สงครามอิรัก และวิกฤตไครเมีย มาประเมินสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และพบว่าจุดขาดทุนสูงสุดโดยรวมอยู่ที่ 10% โดยเฉลี่ยสำหรับทั้งดัชนี MSCI Asia-Ex Japan และตลาดหุ้นไทย โดยดัชนีทั้ง 2 ตัว ใช้เวลา 69 วันตามปฏิทิน ก่อนจะแตะจุดต่ำสุด และอีก 35 วันในการฟื้นกลับมาอยู่ที่ระดับก่อนเกิดวิกฤต ดังนั้น จึงให้แนวรับหลักที่ 1,650-1,680 จุด (หรือ -0.81 SD ถึง -0.875 SD) หรือ downside ที่ 3-4% ของระดับสูงสุดปีนี้ ที่ 1,720 จุด พร้อมแนะนำ "ซื้อเมื่อย่อตัว" เนื่องจากตลาดมักดีดตัวขึ้นเสมอหลังจากการรุกรานทางการทหารเกิดขึ้น 

สำหรับกลยุทธ์ลงทุน เชื่อว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น จากความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน น่าจะเป็นผลบวกต่อกลุ่มพลังงาน (PTTEP PTT BCP และ TOP) และส่งผลลบต่อกลุ่ม anti-commodities (BGRIM GULF GPSC PTG OR EPG PTTGC SCC CBG OSP TOA RBF AAV และ BA) แต่หากมีการทำข้อตกลงทางการทูต ให้เปลี่ยนไปซื้อหุ้นกลุ่ม anti-commodities และขายกลุ่มพลังงานแทน



พร้อมกันนี้ KS เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในทองคำ เพราะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และไม่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อ  หากความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน รุนแรงมากขึ้น โดยปรับลดน้ำหนักการลงทุนหุ้นทั่วโลกจาก 62.5% เป็น 60% มาเพิ่มในทองคำแทน โดยให้น้ำหนัก 8.8% จากเดิมที่ให้ 6.3%

ส่วนโนมูระ พัฒนสิน (CNS) แนะนำให้รอจังหวะซื้อ แบ่งเป็น 2 ไม้ ไม้แรก ที่ 1,667 - 1,650 จุด และไม้สอง บริเวณ 1620 จุด เน้นไปหุ้นที่ 3 กลุ่ม กลุ่มแรก หุ้นที่ Laggard (HMPRO, CPALL, MAKRO, BCPG, BCP, TIDLOR) กลุ่มที่สอง หุ้น Defensive (ADVANC, BDMS) และกลุ่มสุดท้าย หุ้นที่ฐานกำไรดี (JMT, AP, BE8) 

แต่หากลงทุนระยะยาว แนะนำ  ADVANC,  AMATA, GPSC, KBANK, KCE, MAKRO, SCB และ TIDLOR  


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้