332 จำนวนผู้เข้าชม |
นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ Chief Research Officer บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) กล่าวว่า ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นทั่วโลก ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา แต่การที่รัฐบาลทั่วโลกเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ อัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการเงินอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์เช่นกัน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยต่ำ อัตราเงินเฟ้อสูงมาก จึงทำให้นักลงทุนกล้าเสี่ยงนำเงินเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น ส่งผลให้ความผันผวนของตลาดหุ้นลดลง เห็นได้จากการที่ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ตลาดหุ้นไทยก็ฟื้นตัวกลับไประดับก่อนเกิดวิกฤตโควิด
สำหรับปีนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีโอกาสกลับเข้าสู่ภาวะก่อนเกิดวิกฤตไวรัส ทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจหวนกลับสู่ระดับที่มีเสถียรภาพ อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะชะลอตัวลง ส่วนดอกเบี้ยเริ่มปรับขึ้น ขณะที่มีการเพิ่มภาษีขึ้นบ้าง เพื่อสร้างสมดุลให้กับฐานะการคลังของรัฐบาล จึงทำให้ประเมินว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นจะลดลงจากปีก่อน โดยเมื่อพิจารณาตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) จะชะลอตัว โดย IMF คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 4.5% สวนทางกับเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่ประเมินว่าจะเห็นการขยายตัว 5.1% จากการเปิดประเทศได้มากขึ้น ส่งผลบวกต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการให้ฟื้นตัวขึ้น ช่วยชดเชยกับการลดลงของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยกระตุ้ นการบริโภคในช่วงการระบาดของโควิดได้บ้าง
สำหรับเศรษฐกิจไทย คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาเติบโต 3.6-4.0% หลังจากหดตัวลง -6.1% ในปี 2563 และเติบโตแค่ 1.0% ในปีก่อน โดยได้ปัจจัยหนุนจากการส่งออกที่คาดจะเติบโต 2% รวมถีงการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางกลับเข้ามาจำนวน 8 ล้านคน ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียน คาดจะเติบโต 6% และผลตอบแทนในการลงทุนตลาดหุ้นอยู่ที่ 5% และ 8% เมื่อรวมเงินปันผล
อย่างไรก็ตาม การระบาดรอบใหม่ของไวรัสสายพันธุ์ Omicron ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ อาจทำให้การคาดการณ์เศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาด ซึ่งในกรณีเลวร้ายที่สุด หากไม่สามารถควบคุมการแพร่ะบาดได้ดี อาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงเหลือ 2.6% ส่วนผลดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนมีโอกาสเติบโตใกล้ 0%
ดังนั้น เพื่อบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น SCBS จึงแนะนำกลยุทธ์การลงทุนปีนี้ ให้มุ่งเน้นหุ้นเติบโตที่ราคาสมเหตุสมผล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) หุ้นที่คาดว่าผลดำเนินงานจะกลับมาเติบโตได้ดีตามวัฏจักรเศรษฐกิจ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากขึ้น ได้แก่ KBANK, AMATA, ZEN, LH และ GULF และ
2) หุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด และได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจของโลกยุคใหม่ ได้แก่ DELTA, ADVANC, ONEE, SECURE และ XPG
สำหรับประเด็นการลงทุนของหุ้นรายตัว สามารถสรุปได้ ดังนี้
• KBANK: หนึ่งในผู้นำด้าน Digital banking คาดกำไรสุทธิปี 2565 มี upside จาก credit cost ที่มีโอกาสลดลง
• AMATA: คาดว่ายอดการโอนที่ดินจะเริ่มดี ขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ต่อเนื่องถึงปี 2565 จากลูกค้าหลักในกลุ่มพลังงาน ยานยนต์ และ โลจิสติกส์
• ZEN: ได้รับประโยชน์จากการกลั บมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรปี 2565
• LH: ปี 2565 คาดได้รับแรงหนุนจากการผ่อนปรน LTV บ้านหลังที่ 2 และ 3 เต็มที่ เนื่องจากบริษัทมีความพร้ อมของการเปิดโครงการใหม่ที่ จะเพิ่มขึ้น 50%
• GULF: กำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าคาดว่ าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12.4% ต่อปีในช่วง 7 ปีข้างหน้า ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนใน INTUCH ช่วยสร้างความมั่นคงของกำไรสุ ทธิ
• DELTA: ได้รับประโยชน์จากฐานลูกค้ าในกลุ่ม EV car, พลังงานสะอาด และ โทรคมนาคม
• ADVANC: มีโอกาสจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้ นสำหรับปี 2565 เนื่องจากงบลงทุนลดลง รวมถึงได้รับประโยชน์จากเทรนด์ ธุรกิจ Metaverse
• ONEE: ประเมินธุรกิจโฆษณาผ่านจุดต่ำสุ ดไปแล้ว โดยจะเริ่มฟื้นตัวชัดเจนในปี 2565
• SECURE: ได้รับประโยชน์จากโลกในยุคดิจิ ทัลที่ทำให้ความปลอดภัยในเรื่ องของข้อมูลมีความสำคัญมากขึ้น
• XPG: ผลประกอบการปี 2565 Turnaround หลังเข้าสู่ธุรกิจ Digital Asset