1824 จำนวนผู้เข้าชม |
บมจ. ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) รายงานผลดำเนินงานงวดไตรมาส 2 นี้ มีกำไรเฉพาะส่วนของบริษัทใหญ่ 152.2 ล้านบาท ลดลง 10.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) จากฐานที่สูงในปีก่อน ทั้งที่รายได้จากการขายและการให้บริการรวมจะเพิ่มขึ้น 46.9% YoY มาอยู่ที่ 483.2 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น 14.4% YoY เป็น 193.7 ล้านบาท ริษัทใหญ่ ในไตรมาส 2 ปีนี้มีรายได้รวม 699.6 ล้านบาท อย่างไรก็ตามทำให้กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 152.2 ล้านบาท สาเหตุจากการรับรู้รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โอนิโกเบ (Onikoube) ซึ่งเป็นโครงการใหม่ในญี่ปุ่น และเพิ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ประกอบกับได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
สำหรับผลดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปีนี้ กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรเฉพาะส่วนของบริษัทใหญ่ลดลง 24.4% YoY มาอยู่ที่ 385.5 ล้านบาท สาเหตุจากในปีก่อน มีรายการพิเศษจากการรับรู้กำไรที่เกิดจากการจำหน่ายโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น จำนวน 234.4 ล้านบาท แต่หากตัดรายการพิเศษออกไป กลุ่มบริษัทฯ จะมีกำไรเฉพาะส่วนของบริษัทใหญ่ปีนี้ เพิ่มขึ้น 40.1% YoY ตามรายได้จากการขายและการให้บริการรวมที่เพิ่มขึ้น 24.8% YoY และมีส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น 12.1% YoY เป็น 829.1 ล้านบาท และ 388.7 ล้านบาท ตามลำดับ
โอกาสนี้ ดร. แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TSE ออกมายืนยันว่า กลุ่มบริษัทฯ ยังคงตั้งเป้ารายได้รวมปีนี้ นับรวมส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า แตะ 3,000 ล้านบาท ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All Time High) อานิสงค์จากการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้า Onikoube กำลังการผลิตเสนอขาย 133 เมกะวัตต์ (MW) เต็มไตรมาสตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป อีกทั้งกลุ่มบริษัทฯ เริ่มขยายฐานธุรกิจเข้าสู่การจำหน่ายไฟฟ้าแบบ Private PPA เพื่อตอบความต้องการในการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าสำหรับลูกค้ารายย่อย และลูกค้าอุตสาหกรรม เพื่อต่อยอดรายได้ที่มีความมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว
พร้อมกันนี้ กลุ่มบริษัทฯ ได้วางแผนเติบโตในช่วง 5-7 ปีข้างหน้านี้ ว่า จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 500 MW ซึ่งที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และผ่านการคัดเลือกในระยะที่ 1 แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอกฎเกณฑ์ หรือนโยบายจากรัฐบาลชุดใหม่ รวมถึงเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงจากขยะ และการซื้อกิจการโรงไฟฟ้า ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า รวมไปถึงธุรกิจที่เป็นเมกะเทรนด์ อย่างธุรกิจศูนย์ดูแลสุขภาพเวลเนส หรือธุรกิจการแพทย์เพื่อช่วยผู้มีบุตรยาก ซึ่งล่าสุด เริ่มมีการเจรจาในบางดีลแล้ว คาดว่าจะมีความชัดเจนในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า